ภาพ: EVitamins |
ปริมาณเมลาโทนินที่เพียงพอทำให้การนอนมีประสิทธิภาพ ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเสริมสร้างการเจริญเติบโต กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการอักเสบ ยืดอายุสมองป้องกันอัลไซเมอร์ แต่อายุที่เพิ่มมากขึ้นและวิถีชีวิตที่สวนธรรมชาติเป็นปัจจัยที่ทำให้หลั่งเมลาโทนินได้น้อยลง ส่งผลต่อการนอน เมื่อการนอนไม่มีประสิทธิภาพร่างกายจึงไม่ได้รับการฟื้นฟูซ่อมแซมอย่างเหมาะสมและอาจส่งผลให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนวัยอันควร
แม้ปัจจุบันจะมีการสกัดเมลาโทนินออกมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาเพื่อใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอน แต่มีข้อจำกัดในการใช้ เช่น ผู้ที่มีปัญหาการทำงานของตับและไตบกพร่องไม่ควรใช้เนื่องจากเมลาโทนินจะถูกทำลายที่ตับและขับออกทางไต หากตับและไตทำงานบกพร่องจะทำให้เมลาโทนินอยู่ในร่างกายนานขึ้นจนอยู่ในโหมดจำศีล ปวดศีรษะ ฝันร้ายและมึนงง
เมลาโทนินช่วยให้หลับง่ายแต่ไม่ใช่ยานอนหลับและไม่ใช่ยารักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านอนหลับง่ายแต่ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า ดังนั้นควรใช้เมื่อจำเป็นโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่นอนผิดเวลา (ทำงานกลางคืนแล้วนอนกลางวัน) เหนื่อยล้าจากการเดินทางโดยเครื่องบิน (Get Lag) ผู้ป่วยที่ต้องพักผ่อนหลังผ่าตัด ก่อนใช้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้ใช้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ